แบบฝึกขั้นพื้นฐาน
1. การจับไม้ การจับไม้ในการเล่นเทเบิลเทนนิสมีสองลักษณะคือ
1.1การจับไม้แบบจับมือ การจับไม้แบบจับมือ หรือการจับแบบขวาง หรือการจับไม้แบบธรรมดา เป็นวิธีการจับไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักกีฬาเทเบิลเทนนิสในกลุ่มประเทศแถบทวีปยุโรป การจับไม้แบบนี้เหมาะสำหรับผูเล่นที่เพิ่งเริ่มต้นฝึกหัดการเล่น
วิธีปฏิบัติ
1. ใช้มือขวาหรือมือข้างที่ถนัดจับไม้เหมือนกับว่ากำลังจะจับมือคนอีกคนหนึ่งโดยจับด้ามไม้ให้อยู่ในระหว่างหัวแม่มือกับนิ้วชี้
2. วางนิ้วหัวแม่มือบนหน้าไม้ด้านหนึ่งของบริเวณส่วนโคนไม้ โดยที่หน้าไม้ด้านที่วางนิ้วหัวแม่มือนี้จะเป็นด้นสำหรับการตีลูกหน้ามือ
3. วางนิ้วชี้ขนานไปตามแนวขวางของส่วนปลายโคนไม้บนหน้าไม้อีกด้านหนึ่ง โดยที่หน้าไม้ที่วางนิ้วชี้นี้จะเป็นด้านสำหรับการตีลูกหลังมือ และงอนิ้วที่เหลืออีก 3 นิ้ว คือ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยกำรอบด้ามไม้
4. จับไม้ให้พอดีมือ สบายๆ ไม่เกร็ง
1.1การจับไม้แบบจับมือ การจับไม้แบบจับมือ หรือการจับแบบขวาง หรือการจับไม้แบบธรรมดา เป็นวิธีการจับไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักกีฬาเทเบิลเทนนิสในกลุ่มประเทศแถบทวีปยุโรป การจับไม้แบบนี้เหมาะสำหรับผูเล่นที่เพิ่งเริ่มต้นฝึกหัดการเล่น
วิธีปฏิบัติ
1. ใช้มือขวาหรือมือข้างที่ถนัดจับไม้เหมือนกับว่ากำลังจะจับมือคนอีกคนหนึ่งโดยจับด้ามไม้ให้อยู่ในระหว่างหัวแม่มือกับนิ้วชี้
2. วางนิ้วหัวแม่มือบนหน้าไม้ด้านหนึ่งของบริเวณส่วนโคนไม้ โดยที่หน้าไม้ด้านที่วางนิ้วหัวแม่มือนี้จะเป็นด้นสำหรับการตีลูกหน้ามือ
3. วางนิ้วชี้ขนานไปตามแนวขวางของส่วนปลายโคนไม้บนหน้าไม้อีกด้านหนึ่ง โดยที่หน้าไม้ที่วางนิ้วชี้นี้จะเป็นด้านสำหรับการตีลูกหลังมือ และงอนิ้วที่เหลืออีก 3 นิ้ว คือ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยกำรอบด้ามไม้
4. จับไม้ให้พอดีมือ สบายๆ ไม่เกร็ง
1.2 การจับไม้แบบจับปากกา
การจับไม้แบบจับปากกา หรือการจับแบบหิ้วไม้ เป็นวิธีการจับไม้ที่ผู้เล่นในประเทศแถบทวีปเอเซียนิยม การจับไม้แบบนี้ช่วยให้ผู้เล่นตีลูกได้เร็วขึ้น และมีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่เพื่อรับลูกจากฝ่ายตรงข้าม การจับไม้แบบจับปากกาจึงเหมาะสมสำหรับการเล่นลักษณะจู่โจม หรือการเล่นรุกอย่างรุนแรง
วิธีปฏิบัติ
1.จับไม้คล้ายว่ากำลังจับปากกา โดยจับให้สบายๆ พอดีมือ ไม่เกร็ง
2. วางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ประกบกันจับด้ามไม้ไว้ด้านหนึ่ง
3. งอนิ้วอีก 3 นิ้วที่เหลือ คือนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย บนหน้าไม้อีกด้านหนึ่งเพื่อช่วยประคองไม้ หรืออาจวางราบบนส่วนล่างของไม้ก็ได้
2. ฝึกการสร้างความคุ้นเคยกับลูกปิงปอง
ให้นักเรียนหัดโยนลูกปิงปองเล่น ไม่ว่าจะทั้งโยนไปมา โยนให้ลูกปิงปองกระเด้งแล้วให้นักเรียน พยายามจับลูกปิงปองให้ได้ หรือโยนลูกกระทบข้างฝา ฯลฯ ซึ่งแบบฝึกนี้ต้องการให้นักเรียน ได้คุ้นเคยกับจังหวะการกระดอนของลูกปิงปอง รวมถึงได้สังเกตทิศทางของลูกปิงปองเมื่อกระทบกับสิ่งต่างๆ โดยการฝึกจะให้นักเรียน ยืนเล่นหรือนั่งเล่นกับลูกปิงปองก็ได้
3. ฝึกการตีลูกหลังมือ
ฝึกให้นักเรียน หัดตีลูกปิงปองด้วยด้านแบ๊คแฮนด์ ให้เด็กนักเรียน นั่งลงกับพื้น(ดังรูป) โดยให้อีกฝ่ายหนึ่งกลิ้งลูกไปกับพื้นและให้อีกฝ่ายหนึ่งหัดตีลูกปิงปองให้โดน โดยใช้ด้านหลังมือในการตีลูก
4. ฝึกการตีลูกหน้ามือ
ให้นักเรียนหัดตีลูกด้วยด้านโฟร์แฮนด์เช่นเดียวกันกับการฝึกตีด้านแบ๊คแฮนด์ข้างต้นซึ่งการฝึกลักษณะเช่นนี้จะช่วยให้เด็กนักเรียน เริ่มเรียนรู้การใช้ไม้ปิงปองตีลูกด้วยด้านหน้ามือและหลังมือเด็กนักเรียน จะรู้สึกว่าการเริ่มเล่นปิงปองนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ยากเลย
5. ฝึกการเดาะลูกปิงปองแบบต่างๆ
ให้เด็กนักเรียน หัดเดาะลูกปิงปองในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ด้านหน้ามือเดาะลูก หรือใช้หลังมือเดาะลูกหรืออาจจะเลี้ยงลูกให้อยู่บนหน้าไม้โดยไม่ให้ลูกตกลงพื้นก็ได้ซึ่งแบบฝึกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกให้เด็กนักเรียน ฝึกการควบคุมลูกปิงปองให้ได้
6. ฝึกให้รู้จักการตีลูกด้วยหน้ามือและหลังมือ
หลังจากที่นักเรียน ชำนาญการเดาะลูกแล้วให้นักเรียน หัดตีลูกด้วยหน้ามือ โดยให้นักเรียนอีกคนหนึ่งโยนลูกปิงปองให้อีกคนหนึ่งตีลูกโดยใช้ด้านหน้ามือและด้านหลังมือสลับกันไปมา
7.ฝึกการตีลูกปิงปองกับผนังด้วยด้านหลังมือ
จากนั้นลองให้นักเรียน หัดตีลูกปิงปองกับผนังโดยการนั่ง เริ่มต้นจากการใช้ด้านหลังมือก่อน(ดังรูป) นักเรียนควรพยายามให้ตีโต้ได้หลายๆ ลูกขึ้น
และตามด้วยการฝึกตีนั่งตีโต้กับผนังด้วยด้านหน้ามือ และเมื่อเด็กๆ เกิดความคล่องและชำนาญขึ้นแล้ว ให้นักเรียนนั่งตีโต้กับผนังโดยสลับการตีด้วยด้านมือและหลังมือสลับกันไป
จากนั้นให้นักเรียน เปลี่ยนจากการนั่งเป็นการยืนตีโต้กับกำแพง โดยใช้ฝึกตีโต้โดยใช้ทั้งด้านหน้ามือและหลังมือสลับกันไป
ให้นักเรียน ตีลูกไปข้างหน้า โดยการปล่อยลูกปิงปองตกพื้นก่อนและค่อยตี(ดังรูป) โดยสามารถฝึกให้ตีได้ทั้งด้านหน้ามือและหลังมือ
13. ฝึกตีปิงปองบนพื้นก่อนฝึกบนโต๊ะ
14. ฝึกตีปิงปองโดยมีครูฝึกป้อนหรือใช้เครื่องยิงป้อน
เมื่อนักเรียน เกิดความชำนาญมากยิ่งขึ้นแล้ว นักเรียนควรหัดให้ตีลูกโต้ไป-มากลางอากาศโดยไม่ให้ลูกปิงปองตกลงพื้นดินซึ่งสามารถฝึกตีโต้ได้ทั้งด้านหน้ามือและหลังมือสลับไปมา
นักเรียนสามารถกำหนดจุดให้ ตีโต้บนผนังได้(ดังรูป) โดยให้ตีโต้กับกำแพงสลับด้านหน้ามือ-หลังมือไปมา หรือนักเรียนจะผลัดกันตีคนละทีก็ประยุกษ์ใช้ได้เช่นกันครับ
13. ฝึกตีปิงปองบนพื้นก่อนฝึกบนโต๊ะ
ให้นักเรียนต่อแถวตีลูกคนละครั้งโดยใช้ด้านหน้ามือหรือหลังมือ เมื่อตีเสร็จก็ให้ไปต่อแถวด้านหลังดังรูป โดยใช้การฝึกแบบนี้จะช่วยให้นักเรียน ได้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกีฬาปิงปองได้เร็วขึ้นกว่า ที่นักเรียนไปฝึกตีปิงปองบนโต๊ะปิงปองจริงทันที
14. ฝึกตีปิงปองโดยมีครูฝึกป้อนหรือใช้เครื่องยิงป้อน
เมื่อนักเรียน พร้อมที่จะเล่นกับโต๊ะปิงปองจริงๆ ควรจะมีครูฝึกเป็นผู้ที่คอยป้อนลูกจะดีกว่า เพราะหากปล่อยให้นักเรียน เล่นกันเองจะทำให้เกิดความชำนาญได้ช้าและไม่มีผู้ที่คอยบอกข้อบกพร่องของนักเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น