วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การฟุตเวิรค

แบบที่ 1

ฟุตเวิร์คแบบที่ 1 นี้  ใช้สำหรับการก้าวเท้าสั้น เข้าไปตีลูกสั้นที่เด้งอยู่ในโต๊ะ  เช่น การเข้าไปตีลูกตัด , ลูกเขี่ย ฯลฯ

วิธีฝึก
1.  ลูกปิงปองตกลงจุดไหน ในโต๊ะปิงปอง
2.  ใช้เท้าข้างเดียวกับมือข้างที่จับไม้ปิงปอง  ก้าวไปยังจุดที่ลูกตก แล้วค่อยตีลูกออกไป

แบบที่ 2

ฟุ๊ตเวิร์คลักษณะแบบนี้ จะใช้สำหรับในการเคลื่อนที่ตีลูกปิงปองในแนวด้านข้าง มากลางโต๊ะ  หรือ ตีด้านข้างโฟร์แฮนด์ และ แบ๊คแฮนด์
การฝึกฟุ๊ตเวิร์ค มีความจำเป็นเป็นอย่างอย่าง นักกีฬาและผู้ฝึกสอนจะต้องฝึกให้ครบทุกแบบนะครับ  เพราะกีฬาปิงปองไม่ได้ใช้แต่เพียงแขนหรือลำตัวด้านบนในการตีลูกปิงปอง  ยังต้องใช้ลำตัวส่วนล่างลงไป ในการขยับขาเพื่อเข้าไปตีลูกปิงปองทั่วทั้งโต๊ะ ทั้งในโต๊ะและยังมีนอกโต๊ะอีกด้วย

แบบที่ 3

แบบฝึกสำหรับฝึกฟุ๊ตเวิร์คนี้ คิดค้นโดยอดีตแชมป์โลกของประเทศสวีเดน Stallan Bengson ซึ่งฝึกซ้อมอยู่ที่สโมสรในเมือง Falkenberg ประเทศสวิเดน เลยตั้งชื่อแบบฝึกซ้อมนี้ว่า Falkenberg Step ครับ และเป็นแบบฝึกที่เป็นที่นิยมใช้ในการฝึกซ้อมสำหรับนักกีฬาปิงปองโดยเฉพาะ.......

วิธีฝึก
ผู้ป้อน  ตีลูกไปด้านแบ๊คแฮนด์ 2 ครั้ง ตามด้วยด้านโฟร์แฮนด์ 1 ครั้ง  สลับไปเรื่อยๆ
ผู้ฝึก 
ลูกที่ 1  ใช้แบ๊คแฮนด์ ตี
ลูกที่ 2  ฉากตัวใช้โฟร์แฮนด์ ตี
ลูกที่ 3  ก้าวขา ใช้โฟร์แฮนด์ ตี

แบบที่ 4

การฝึกเบสิคฟุ๊ตเวิร์คแบบไขว้ขา  ฝึกเอาไว้ใช้ในสถานะการณ์ที่ลูกปิงปองอยู่ห่างตัวมาก การใช้ฟุ๊ตเวิร์คแบบธรรมดาจะก้าวขาไปไม่ถึงหรือไม่ทัน  จึงต้องใช้วิธีการไขว้ขาเพื่อให้ไปตีลูกปิงปองได้ทัน
จะเห็นได้ว่า กีฬาปิงปองไม่ได้ฝึกแต่มือที่ใช้ตีปิงปองแต่ประการใด  ถึงแม้จะดูเหมือนเล่นแค่บนโต๊ะเล็กๆ พื้นที่ แค่ 5 ฟุต X 9 ฟุต  มันไม่น่าจะเล่นยาก  มือยาว ก็น่าจะได้เปรียบคู่ต่อสู้แล้ว  แต่ในความเป็นจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่
เพราะกีฬาปิงปองเป็นกีฬาที่เร็วมาก ลูกปิงปองมีขนาดเล็กที่สุด มีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 4 ซ.ม. แถมยังมีความหมุนรอบตัวได้ทุกทิศทุกทางอีก  และเคลื่อนที่จากโต๊ะอีกฝั่งหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาที !!!  ดังนั้น นอกจากสายตา , การสั่งการ , มือ , และเท้า ที่ใช้ในการเคลื่อนไหว จะต้องสัมพันธ์กันทั้งหมด   แต่ถ้า ตาเห็น มือไป แต่ขาไม่ก้าว ก็จะไม่สามารถเล่นปิงปองได้ หรือเล่นได้ แต่หากจะเล่นเพื่อความเป็นเลิศแล้ว ก็คงจะไปได้ไม่ไกลในระดับโลกอย่างแน่นอน
ดังนั้น ต่อจากนี้ไป....ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่เสียทีว่า  กีฬาปิงปอง ไม่ได้ใช้แต่เพียงมือจับไม้ปิงปองแล้วตีลูกปิงปอง แต่บนโต๊ะปิงปองเท่านั้น  เพราะที่ผ่านมานักกีฬาไทยเรา ร้อยละ 80 มีปัญหาด้านฟุ๊ตเวิร์คทั้งหมด  ซึ่งวิธีปรับเปลี่ยนเพื่อยกระดับการเล่นปิงปองของประเทศไทยเราให้สูงขึ้น จะต้องเน้นการฝึกซ้อมด้านฟุ๊ตเวิร์คให้มากขึ้น แบบฝึกทุกแบบฝึกจะต้องมีการออกแบบให้นักกีฬาจะต้องใช้เท้าในการเคลื่อนไหวอยู่ด้วยตลอดเวลา  และเมื่อฝึกควบคู่กันเช่นนี้จนเป็นนิสัย จนเกิดเป็นความชำนาญ  เมื่อนั้นทุกการเคลื่อนไหว ก็จะกลายเป็นการกระทำที่เป็นอัตโนมัติ มีการสั่งการทันทีที่สายตาได้เห็น  และก็จะทำให้การเล่นปิงปองของคุณ เป็นเรื่องง่ายดายไปในทันที  

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การตีแบ็คแฮนด์

เบสิคการตีลูกด้วยด้านแบ๊คแฮนด์นี้  นักกีฬามีความจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญเช่นกัน  เพราะหากเบสิคต่างๆ ทำได้ไม่ดี ล้วนแต่ผลถึงการเล่นของเราในอนาคตข้างหน้าทั้งสิ้น   ซึ่งวิธีการตี ลักษณะท่าทางการตี  ลองศึกษาจากคลิ๊ปข้างบนนี้ได้ครับ 

จังหวะการตีลูก
เริ่มฝึกจากตีลูกจังหวะ C  ตามด้วยจังหวะ B และจังหวะ A ตามลำดับ  ขอย้ำนะครับว่า  จังหวะต่างๆ เหล่านี้ นักกีฬาจำเป็นต้องฝึกตีให้ได้ เพราะจะส่งผลถึงการเล่นที่ได้เปรียบกว่าการตีลูกได้เพียงจังหวะเดียว


ลักษณะสัมผัสของหน้าไม้กับลูกปิงปอง
ให้หน้าไม้สัมผัสถูกลูก ในลักษณะตีเต็มลูก


เป้าหมายในการฝึก
กำหนดเป็นจำนวนครั้งในการตีแต่ละลูก  โดยตีให้ได้โดยไม่เสียเอง  หากเสียเริ่มนับ 1 ใหม่  เช่นกัน

การถ่ายน้ำหนักตัว (สำคัญมาก)
สำหรับผู้เล่นมือขวา  
1. ในจังหวะที่เหวี่ยงวงสวิงไปด้านข้าง เพื่อเตรียมจะตีลูก   ให้ถ่ายน้ำหนักตัวทั้งหมด ไปไว้ที่เท้าซ้าย
2. ในจังหวะที่เหวี่ยงวงสวิงเข้าไปเพื่อตีลูกปิงปอง  ให้ถ่ายน้ำหนักตัวทั้งหมด ไปไว้ที่เท้าขวา
สำหรับผู้เล่นมือซ้าย ให้ทำตรงกันข้าม

เคล็ดลับ  หลังจากที่นักกีฬาเริ่มฝึกไปสักระยะหนึ่งแล้ว  และเริ่มมีท่าทางการตีถูกต้อง , วงสวิงเริ่มสวย , จังหวะการตีลูกทำได้ทุกจังหวะ , ตึลูกต่อเนื่องได้นาน  ให้เริ่มเสริม "การจับด้ามไม้ให้แน่นขึ้น (เฉพาะในจังหวะที่ลูกปิงปองกระทบหน้าไม้ เท่านั้น  จังหวะอื่นจับไม้แบบปกติ) "  ให้กับนักกีฬา  เคล็ดลับนี้จะทำให้นักกีฬาตีลูกได้รุนแรงขึ้นต่อไปในอนาคต

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การตีโฟร์แฮนด์

 เบสิคการตีลูกปิงปองให้วิ่งออกไปแบบธรรมดาๆ ลูกนี้ เป็นเบสิคขั้นต้นที่นักกีฬาจะต้องเริ่มฝึกฝนกันทุกคน  ลักษณะท่าทาง , วงแขนการตี ให้ดูจากวิดีโอข้างต้นเป็นตัวอย่าง  

จังหวะการตีลูกปิงปอง
สำหรับจังหวะการตีลูกปิงปองนั้น  ให้เริ่มต้นจากการฝึกตีจังหวะช้า (C) ก่อน เมื่อชำนาญแล้วจึงค่อยปรับไปตีจังหวะที่ลูกกระดอนสูงสุด(B) และเมื่อชำนาญตีลูกจังหวะนี้แล้ว  ก็ปรับให้ตีจังหวะเร็ว (A) ตามลำดับ  รวมถึงเมื่อนักกีฬาตีได้ทุกจังหวะแล้ว  ผู้ฝึกสอนสามารถสร้างแบบฝึกให้นักกีฬาตีลูกจังหวะต่างๆ สลับกันได้ เช่น จังหวะ A 1 ครั้ง จังหวะ C 1 ครับ สลับกันไปเรื่อยๆ ก็ได้  ฯลฯ


ลักษณะสัมผัสของหน้าไม้กับลูกปิงปอง
ให้หน้าไม้สัมผัสถูกลูก ในลักษณะตีเต็มลูก

เป้าหมายการฝึก
ให้กำหนดเป้าหมายเป็นจำนวนครั้ง  โดยตีให้นานที่สุด โดยตีให้เสียเองยากที่สุด หากตีเสียให้เริ่มต้นใหม่   เช่น  ตีให้ได้ 100 ครั้ง , 150 ครั้ง , 200 ครั้ง ขึ้นไป

 


การถ่ายน้ำหนักตัว (สำคัญมาก)
สำหรับผู้เล่นมือขวา  
1. ในจังหวะที่เหวี่ยงวงสวิงไปด้านข้าง เพื่อเตรียมจะตีลูก   ให้ถ่ายน้ำหนักตัวทั้งหมด ไปไว้ที่เท้าขวา
2. ในจังหวะที่เหวี่ยงวงสวิงเข้าไปเพื่อตีลูกปิงปอง  ให้ถ่ายน้ำหนักตัวทั้งหมด ไปไว้ที่เท้าซ้าย
สำหรับผู้เล่นมือซ้าย ให้ทำตรงกันข้าม

เคล็ดลับ  หลังจากที่นักกีฬาเริ่มฝึกไปสักระยะหนึ่งแล้ว  และเริ่มมีท่าทางการตีถูกต้อง , วงสวิงเริ่มสวย , จังหวะการตีลูกทำได้ทุกจังหวะ , ตึลูกต่อเนื่องได้นาน  ให้เริ่มเสริม "การจับด้ามไม้ให้แน่นขึ้น (เฉพาะในจังหวะที่ลูกปิงปองกระทบหน้าไม้ เท่านั้น  จังหวะอื่นจับไม้แบบปกติ) "  ให้กับนักกีฬา  เคล็ดลับนี้จะทำให้นักกีฬาตีลูกได้รุนแรงขึ้นต่อไปในอนาคต

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การตี Top Spin

TOPSPIN ในเทเบิลเทนนิสเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ถ้าคุณต้องการที่จะควบคุม จุด, การตั้งค่าภาพที่มีประสิทธิภาพและใช้ยิงห่วง TOPSPIN ทำให้ลูกที่จะลดลงเร็วกว่านั้นจะมีแรงโน้มถ่วงเพียงทำหน้าที่เกี่ยวกับมัน นี่คือวิธีที่คุณสามารถกำหนด TOPSPIN ไปยังลูกปิงปอง 
1 มุมมองพายเรือไปข้างหน้า จุดใบหน้าของใบพัดที่โต๊ะ นี้จะช่วยให้คุณสามารถใช้สปินไปด้านบนของลูกและทำให้ลูกหมุนตั้งฉากกับตาราง 

2 ลิฟท์และผลักดันในขณะที่คุณตีลูก การใช้สปินเป็นส่วนที่ยุ่งยากเพราะคุณยังคงต้องรับลูกผ่านเน็ต หากคุณกำลังให้บริการโยนลูกและตีมันไปข้างหน้าในขณะเคลื่อนย้ายแขนของคุณ เพิ่มขึ้นเป็นลูกจะลดลง ถ้าคุณกำลังใช้ TOPSPIN เพื่อกลับไปยิงฝ่ายตรงข้าม, ปล่อยให้ลูกมาให้คุณและนัดหยุดงานในขณะที่ยกแขนของคุณจะนำไปใช้ TOPSPIN มันง่ายที่จะหักโหมในครั้งแรกซึ่งจะทำให้ลูกบอลที่ตีออกสุทธิเพื่อให้การ ปฏิบัติใช้ในปริมาณที่เหมาะสมของการหมุน 

3 มุ่งมั่นที่จะกินหญ้าด้านบนของลูก นี้จะช่วยให้คุณใช้ในปริมาณที่เหมาะสมของการหมุนในขณะที่การบรรลุผลตอบแทน ที่ดี หากคุณตีลูกด้วยแรงโดยตรงมากเกินไปมันจะหล่นเร็วเกินไป โปรดใช้ความระมัดระวัง แต่ไม่พลาดลูกทั้งหมด 

4 จะเตรียมไว้สำหรับการส่งกลับ TOPSPIN จะทำให้ลูกที่จะตีกลับได้อย่างรวดเร็วในด้านของฝ่ายตรงข้ามของตารางและการ เพิ่มขึ้นของเขาออกไปพายเรือ อุดมคตินี้หมายถึงฝ่ายตรงข้ามจะตียาวและคุณชนะจุดที่ ความเป็นไปได้ก็คือการที่ลูกจะมาในระดับสูงในด้านของคุณเพื่อให้คุณสามารถตี ชน 

คำแนะนำ : 

กลเม็ดเด็ดพรายเป็นกุญแจสำคัญที่จะต้องใช้ TOPSPIN หากคุณตีลูกยากเกินไปที่คุณจะต้องหมุนเพื่อเอื้ออำนวยมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ ได้ผลลัพธ์เดียวกัน ให้ยิง TOPSPIN การตั้งค่าการยิงที่แข็งแกร่ง




 วิธีการเรียนรู้(HOW):วิธี การเล่นปงปองให้สนุกนั้น ต้องมีพื้นฐานการเล่นลูกโต้ก่อน เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการเล่นลูกอื่นๆที่ยากขึ้น เช่น ลูกท็อปสปิน(Top spin) ลูกตบ เป็นต้น โดยพื้นฐานแล้วจะต้องหัดเล่นลูกโต้ก่อนนะครับถึงจะสามารถเล่นลูกที่ยากๆกัน

การเล่นลูกโต้ด้านโฟร์แฮนด์:ให้ ไม้ปิงปองตั้งฉากกับพื้นในแนวนอน ข้อศอกชี้ลงพื้น ขาข้างที่มือถนัดอยู่ด้านหลัง จากนั้นก็กวาดแขนจากข้างลำตัวเข้ามาหาตัว ให้เบี่ยงร่างกายตามด้วย
การเล่นลูกโต้ด้านแบ็คแฮนด์:ให้ ไม้ปิงปองตั้งฉากกับพื้นในแนวนอน แขนขนานกับพื้น ขาข้างที่มือถนัดอยู่ด้านหน้า แล้วกวาดแขนออกจากลำตัวเหมือน กับว่ากำลังดึงแขนออก ให้เบี่ยงร้างกายตามด้วย 


โดยพื้นฐานที่สำคัญคือการเคลื่อนที่ของขา ที่เรียกกันว่า ฟุตเวิร์ค(Foot Work) ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ในการฝึกฝน เพื่อให้ได้จังหวะการเคลื่อนที่ที่เหมาะสมตามสรีระร่างกายของแต่ละคน
ผลการเรียนรู้(Outcome):ช่วย ให้เล่นปิงปองได้สนุกมากขึ้น หลังจากได้ฝึกพื้นฐานเหล่านี้โดยพยามตีโต้ผนังให้ได้ร้อยครั้งขึ้นไป  เสริมสร้างความดล่องแคล้วของร่างกาย สร้างการตัดสินใจที่รวดเร็ว และสุขภาพแข็งแรง
ข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์ (reflection) จาก ที่ได้ฝึกฝนทำให้ข้าพเจ้าประสบผลสำเร็จด้านการเรียนมากขึ้น เพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจได้มากขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการเคลื่อนที่ มากขึ้น เป็นการสร้างสมาธิที่ดี และเป็นการสร้างมิตรภาพอีกด้วย

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

นักปิงปองมือใหม่หรือคนที่ตีปิงปองไม่เป็นพอจับไม้ปิงปองมักชอบตีแบ็คแฮนด์มากกว่าโฟร์แฮนด์ เพราะสามารถมองเห็นลูกที่ตีในจังหวะกระทบไม้ด้านหน้าของตัวได้ชัดเจน แต่พอฝึกตีโฟร์แฮนด์เป็นสามารถตีได้คล่องขึ้นกลับกลายตีแบ็คแฮนด์ไม่ค่อยเป็นเสียแล้ว รู้สึกว่าตีแบ็คแฮนด์ยากกว่า ตีได้ไม่ถนัด และตีด้วยข้อมือไม่ได้แรงเท่ากับการตีโฟร์แฮนด์ จนทำให้ละเลยไม่อยากฝึกตีแบ็คแฮนด์ กลายเป็นจุดอ่อนสำคัญของแทบทุกคน
 bkhandDrive
Backhand Drive หมายถึง การตีด้านแบ็คแฮนด์ทำให้ลูกที่ตีกลับไปหมุนแบบ topspin หรือใช้สำหรับตีโต้กลับ (counterhit) ถ้าตั้งท่าตีให้ถูกต้องจะพบว่าการตีแบ็คแฮนด์ทำได้ง่ายกว่าตีโฟร์แฮนด์เสียอีก
  • ก้มต้วพับเอวลงไปด้านหน้า ให้ลำตัวส่วนบนโน้มลงโดยกระดูกสันหลังยังคงเป็นเส้นตรง จะเกิดช่องว่างช่วงหน้าลำตัวสำหรับใช้เหวี่ยงแขน
  • งอแขนระหว่างแขนท่อนบนและแขนท่อนล่างให้เป็นมุมฉาก (ห้ามยืดหรือเหยียดแขนตรง)
  • ใช้หัวไหล่เป็นจุดหมุนแขนท่อนบน
  • ยื่นข้อศอกไปด้านหน้าและชี้ลง อย่าแนบติดลำตัวเป็นอันขาด
  • ใช้ข้อศอกเป็นจุดหมุนแขนท่อนล่าง
  • หากต้องการใช้ข้อมือ ให้สบัดตามแขนท่อนล่าง (การฝึกระยะแรกยังไม่ควรฝึกใช้ข้อมือเพราะการใช้ข้อมือสบัดไม้จะทำให้ความแม่นยำลดลง และหากสบัดข้อมือเร็วไปขณะที่แขนท่อนล่างยังเหวี่ยงได้ความเร็วไม่สูงสุด จะตีได้แรงไม่เต็มที่)
วิธีอัดแรง
  1. ถ่ายน้ำหนักจากขาขวามาลงขาซ้าย และหมุนสะโพกซ้ายตามเพียงเล็กน้อย
  2. อัดแรงที่หัวไหล่โดยหมุนหัวไหล่ให้แขนท่อนบนและข้อศอกเข้ามาใกล้หน้าท้องบริเวณหน้าสะดือ
  3. หมุนแขนท่อนล่างมาด้านหลังบริเวณเหนือหัวเข่าซ้ายโดยใช้ข้อศอกเป็นจุดหมุน
  4. ปล่อยให้ข้อมือพับไปข้างหลังตามแรงเหวี่ยงของแขนท่อนล่างเป็นการอัดแรงที่ข้อมือเอาไว้ และในขณะเดียวกันให้หมุนแขนท่อนล่างตามแกนยาวใช้สำหรับควบคุมมุมของหน้าไม้ปล่อยแรงจากขาซ้ายไปขาขวาแล้วหมุนสะโพกตาม
วิธีปล่อยแรง
    1. ปล่อยแรงที่หัวไหล่ โดยเหวี่ยงหัวไหล่เพียงเล็กน้อยเพื่อผลักแขนท่อนบนให้เหวี่ยงจากซ้ายไปขวา
    2. ปล่อยแรงที่ข้อศอก เพื่อเหวี่ยงแขนท่อนล่างจากซ้ายหลังไปข้างหน้าตามทิศทางที่ต้องการส่งลูกโดยใช้ข้อศอกเป็นจุดศูนย์กลาง ส่งแรงให้ท่อนแขนล่างยืดออกจากมุมฉาก
    3. ปล่อยแรงที่ข้อมือ เพื่อสบัดข้อมือให้หน้ายางปั่นลูกให้หมุนหรือกระแทกลูก และในขณะเดียวกันให้หมุนแขนท่อนล่างตามแกนยาวเพื่อสบัดหน้าไม้ปิดคว่ำลงตามทิศทางของการตีลูก (ให้ควบคุมมุมของลำตัวให้ก้มไว้ในมุมเดิมตลอดการตี อย่าหงายหลังหรือเหยียดลำตัวขึ้นเป็นอันขาดเพราะจะทำให้มุมหน้าไม้ไม่คงที่)
    4. ท่อนแขนยืดออกไปหยุดอยู่หน้าลำตัวบริเวณหน้าเท้าขวากลับสู่ท่าเตรียมพร้อมตีลูกต่อไป
    หมายเหตุ วิธีอัดแรงและปล่อยแรงข้างต้น ตำแหน่งที่ไม้กระทบลูกอยู่ประมาณกลางสะดือค่อนไปทางซ้ายเล็กน้อย วิธีนี้ต้องเสียเวลาในการเหวี่ยงไม้เพื่อสร้างแรงและสามารถปั่นลูกให้หมุน อีกวิธีหนึ่งที่ทำได้เร็ว แรง แต่ปั่นลูกให้หมุนได้น้อยกว่า ในการอัดแรงและปล่อยแรงมีลักษณะเหมือนกับการต่อยหมัดแย้บ โดยใช้หัวไหล่ดันข้อศอกมาข้างหลังข้างลำตัวด้านขวาเพื่ออัดแรง แล้วปล่อยแรงออกไปตรงๆกระทบลูกบริเวณด้านขวาของลำตัว

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเสริฟที่ถูกต้องตามกติกาสากล



กติกาการเสริฟลูกแบบใหม่


1. เมื่อเริ่มส่งลูก ลูกเทเบิลเทนนิสต้องถูกวางหยุดนิ่งเป็นอิสระอยู่บนฝ่ามืออิสระที่แบฝ่ามือออกให้แบบเรียบ โดยลูกนั้นจะต้องอยู่หลังเส้นสกัดและอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะ

2. หลังจากนั้น ผู้ส่งจะต้องโยนลูกขึ้นข้างบนด้วยมือให้ใกล้เคียงกับแนวเส้นตั้งฉากโดยลูกที่โยนขึ้นไปนั้นจะต้องไม่หมุนและให้ลอยสูงจากจุดที่ลูกหลุดออกจากฝ่ามืออิสระนั้นไม้น้อยกว่า 16 เซ็นติเมตร แล้วตกลงมาโดยไม่กระทบสิ่งใดก่อนที่ผู้ส่งจะตีลูก

3. ขณะที่ลูกกำลังลดระดับจากระดับสูงสุดแล้ว ผู้ส่งจะต้องตีลูกให้กระทบแดนของผู้ส่งก่อนแล้วข้ามหรืออ้อมส่วนประกอบตาข่ายไปกระทบแดนของฝ่ายรับ

4. ทั้งลูกเทเบิลเทนนิสและไม้เทเบิลเทนนิสจะต้องอยู่เหนือพื้นผิวโตีะตลอดเวลาที่เริ่มทำการส่งลูกจนกระทั่งลูกนั้นได้ถูกไม้ตี
5. ตั้งแต่เริ่มส่งลูกจนกระทั่งลูกถูกตี ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องอยู่สูงกว่าพื้นผิวโต๊ะและอยู่หลังเส้นสกัด และจะต้องไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือเสื้อผ้าของผู้ส่ง หรือคู่เล่นในประเภทคู่ของผู้ส่ง บังการมองเห็นของผู้รับ

อธิบายเพิ่มเติม....  เมื่อนักกีฬาโยนลูกเพื่อเสริฟ จะต้องเอามือออกไปด้านข้างทันที ไม่ว่านักกีฬาจะเสริฟลูกด้านแบ๊คแฮนด์หรือโฟร์แฮนด์ เพื่อไม่ให้มีสิ่งใดบังผู้รับ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ... หากเราลากเส้นสมมติ(เส้นสีแดงตามรูป) ระหว่างเสาเน็ตทั้ง 2 ข้างมาที่ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องไม่มีสิ่งใดๆ เข้ามาอยู่ในบริเวณนี้ทั้งข้างบนและข้างล่าง

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่แล้วผมก็ได้มาบอกเกี่ยวกับพื้นฐานในการตีปิงปองกันแล้ว วันนี้ผมก็จะมาแนะนำเกี่ยวกับการตีลูกให้มีพลัง ซึ่งก็ต้องทำตามนี้เลยนะครับ

1.ตีโดน แนวกลางไม้        แนวกลางไม้  คือ  ตั้งแต่กลางไม้ไปถึงหัวไม้  จุดนี้เป็นเส้นแนวส่งกำลัง ตีโดนแรงแรงไม้ก็ไม่บิด  จุดที่ดีที่สุดในการตบคือ  กลางไม้  ไปดูไม้ทีมชาติ  ตรงนี้ขุ่นที่สุดบางคนตี 2 อาทิตย์ก็เปลี่ยยางแล้ว  เพราะฟองนำน่วมยุบลงไปเลย  ส่วนกรณีตีท็อปสปิน  หรือเปลียนทาง  ลูก  ให้ตีโดนส่วนที่ 2  ของไม้ (ประมาณ เลข 2  ไปเลข 10)  (ด้ามจับเลข 6  หัวไม้เลข 12 2.ตีให้จมยางไปจนถึงเนื้อไม้     คนบางคนตีแค่ผิวหรือเฉี่ยว เฉียว  ไม้ได้ใช้แรงจากไม้เลย  ถ้าตีให้จมถึงเนื้อไม้  ไม้จะส่งแรงออกมาใส่ลูก  จะแรงกว่าเดิม 20-40%  ถ้าตีถึงเนื้อไม้เสียงจะดังกว่าตีปรกติให้สังเกตุดู  ตอนคนตบแรงแรงตบดู
 3.เร่งความเร็วเข้าหาลูก   การเร่งความเร็ว40 cm สุดท้ายก่อนโดนลูก   จะทำให้เราควบคุมลูกได้ดีขึ้น  เพราะถ้าไม้เราเร็วกว่าลูกเราจะกลืนกินความเร็วและความหมุนของลูกที่มีอยู่ในลูกได้  (เร็วกว่าลูกที่มา 25%)  วิธีนี้เน้นความเร็วที่ท่อนแขนเป็นหลักไม่เน้นข้อมือ
 4.จับไม้   จับไม้ให้ชิดชิด  แน่นประมาณ 60-70%   แต่  ตอนโดนลูกจับแน่นเพิ่มเป็น80- 90%  แล้วพอโดนเสร็จกลับมาจับ  60-70% เท่าเดิม  ความรู้สึกที่ใช้ควบคุมทั้งหมดอยู่ที่นิ้วชี้หลังไม้เป็นหลัก  นิ้วโป้งให้งอข้อนิ้วข้อสุดท้ายเล็กน้อยไม่เหยียดตรง  (อันนี้แชมป์โลกชาวจีน ติงสงสอน)  และไม้ควรจับและพอดีกับมือแนบสนิทกับมือให้มากที่สุด  (ระดับทีมชาติบางคน  เหลาไม้เป็นร่องพอดีนิ้วเลยและใช้แค่ไม้เดียวยางเดิม)
 5.ถ่ายนำหนัก  ถ่ายนำหนักไปด้านหน้า  บริเวณกลางลำตัวหน้าตัว จะแรงกว่ากว่าถ่ายนำหนักจากขาซ้ายไปขาขวา  โดยการหันตัวมากมากจนไหล่ซ้ายชี้เข้าหาโตะก่อน  ก่อนเหวี่ยงแขนเข้าตีลูก   และตอนจบขาทั้งสองข้างขยับไปหน้า  (ทั้งด้านซ้ายและขวา)  และให้ตัวไม้จบบริเวณกลางลำตัวใต้คางซ้าย (คนที่ตีลูฏแรงที่สุดที่ผมเคยดู  ติงสงทีมชาติจีน  เล่นรับเพื่อรออัดที่เดียวตาย  ตีลูกได้แรงมากจนคนรับแทบไม่ได้ขยับตัว(แชมป์โลก)บางลูกที่ไม่ slow แทบไม่เห็นลูกเลยตอนลงโตะ)  ตีแบบนี้
ก่อนตี  ขาซ้ายอยู่เลข 9  หลังตีอยู่เลข 10
 ก่อนตี        ขาขวา อยู่เลข 5  หลังตีไปเลข 1  และลำตัวเคลื่อนไปหน้าด้วย

6.ที่มาของพลัง   ต้องเริ่มจากขาที่กางพอดีมั่นคง  แล้วหันตัวถ่ายนำหนัก 80-90% มาที่ขาขวา  แล้วย่อตัว  ถ่ายนำหนักสู่น่อง  บิดเอว เหวี่ยงตัว เร่งความเร็วที่ท่อนแขน  กำไม้แน่นเข้าปะทะลูก  และส่งแรงต่อไปด้านหน้า(  ถ้าเป็นลูกเบาต้องปิดหัวลูกโดยการบิดเอวปิดและจบแรงที่ขาซ้าย ลูกจะไม่หลุดออก)   ลูกtop ล่างขึ้นบนลูกหนักล่างขึ้นบน  ลูกเบาหลังไปหน้าไม้สูงกว่าลูก  ลูกโด่งบนลงล่าง ลูกโด่งมากตีระดับไหล่ถึงตา)ย่อตัว   คือจุดเริ่มต้นของการบุก  และพลัง  ยิ่งย่อยิ่งแรงยิ่งหมุน
  ขาขวา    คือจุดรวมพลัง
 เอว    คือจุดถ่ายพลังจากล่างสู่บนจากหลังไปหน้า  ถ้าไม่ใช้เอวความแรงจะน้อยกว่าใช้เอว
  ไหล่   คือความแรง ยิ่งชี้ไหล่ยิ่งแรง   (ฉาก+เหวี่ยง)
ศอก  กดศอกไว้อย่ายกสูงมากเกินไปลูกจะออกได้ง่าย
 ท่อนแขน   คือความเร็ว ถ้าเร่งความเร็วเข้าหาลูกและจะตีได้เร็วมากแต่ไม่แรง  (เหมาะตีตวัดท่อนแขนในโตะที่ง้างไม่ทัน)
 ข้อมือ  คือความหมุน   (ถ้าจับไม้แน่นขึ้นลูกจะแรง  ถ้าใช้ข้อมือบิดตอนโดนลูกจะหมุนและเลี้ยวออกข้างมากหลังตกลงโตะแล้ว)
ขาซ้าย  คือจุดจบแรงและชี้จุดลงได้ด้วย  (ขาซ้ายถ้าขยับไปหน้านิดหนึ่งและปลายเท้าชี้ไปทางไหนซ้ายหรือขวา  จะทำให้ลูกลงง่ายขึ้นทั้งทางซ้ายและขวา  ลูกยิ่งห่างตัวยิ่งจบขาซ้ายให้ช้าที่สุดยิ่งดี

7.ตีลูกสูงสุด   ลูกจังหวะสูงสุดจะหยุดตัวเองนิดหนึ่ง  จะอยู่ในสภาวะไร้แรง  (ไม่มีแรงที่จะขึ้น และค้างตัวเองไว้ก่อนที่จะลง)  จังหวะนี้เองถ้าเป็นลูกธรรมดาที่ไม่หนักมาก  เหมาะที่จะตีแบบรุนแรงที่สุด  เพราะมันโด่งสุด โอกาสลงมากสุด)  ถ้าลูกจังหวะสูงสุดอยู่ในโตะก็ให้เคลื่อนตัวเข้าไปตี  แต่ถ้าจังหวะลูกนั้นสูงสุดอยู่นอกโตะ  ก็ให้ยืนรอให้ลูกมาหาแล้วค่อยตี  (ยืนห่างโตะ   1 ท่อน แขน)  ถ้าลูกมาเร็วมากก็ให้รอตีเหมือนกัน
 แต่ถ้าหนักมาก  ตีจังหวะไม่เร็วก็ช้าดีกว่าไม่เหมาะตีสูงสุด เพราะลูกหนักจังหวะสูงสุดจะหนักที่สุด  แต่จะตีจังหวะสูงสุดก็ได้แต่ต้องปรับหน้าไม้และส่งไปหน้ายาวยาวและใช้ข้อมือช่วยเล็กน้อย ตอนโดนลูก(ฉุดจิกลูกขึ้น)

8.หยุดรอนิดหนึ่ง   ก่อนจะตี       โดยต้องคาดคะเนจุดที่ลูกจะตกให้ได้  แล้วไปรอ  เงื้อไม้ แล้วค่อยตี  (ไม้เริ่มออกตอนลูกเด้งขึ้นฝั่งโตะเรา)    การไปหยุดรอทำให้เลือกมุมจุดตกลูกที่จะตีไปได้  และมีเวลาเลือกตี(ชนิดของลูกได้มากขึ้น)  กว่าวิ่งไปแล้วตีเลย  จะตีลูกไปที่จุดไหนให้มองจุดยืนเขา  และจะตีลูกแบบไหนไปให้ดูหน้าไม้เขาว่าเป็นแบบไหนเปิดหรือปิด  fore หรือ back หรือไม่ชอบลูกไหน  หรือจุดอ่อนอยู่ที่ไหน  ก็ให้เริ่มบุกไปจุดนั้นก่อน  แต่ทุกลูกเมื่อตีเสร็จแล้ว  ไม้ต้องอยู่กลางตัวและต้องสูงกว่า net เสมอ  เพื่อการบุกครั้งต่อไป

9. ฝึก step carl fenberg  stepนี้คิดค้นโดย  carl fenberg  ชาวสวีเดน  step นี้ทำให้บุกได้ดี  และต่อเนื่อง  แยกให้เราเองอัตโนมัติว่าจะตีbackhand  forehand  หรือ ฉากตัวตี  ลูกมาแบบไหน  บุกได้หมด  .ให้เสริช์หาใน youtube ดู  ฝึก 20 นาทีทุกวันรับรองบุกได้ทุกลูก step นี้  อาจารย์ทัศนะ  โสมาบุศย์  บอกมา  ฝึกแล้วบุกดีและบุกได้ต่อเนื่องมากขึ้นถ้าฝึกบ่อยบ่อย

10.ให้ใช้ fore มากกว่า back  เพราะ forehand  ตีได้รุนแรงกว่า  วงกว้างกว่า  และโค้งเลี้ยวกว่าและรอลูกที่จะหลอกเลือก ได้มากกว่าการตี back handได้ มากกว่า  ระดับโลกตีforehand  ในการจบเกมส์แทบทั้งนั้น  มีไม่กี่คนที่ตี bh จบปิดเกมส์ได้ดี
  ส่วน back hand  ถ้าจะบุกให้ เน้นชนลูก  ยืมแรงลูกที่มา  ตีเร็ว  เด้งขึ้นตีเลย ส่งไปหน้ายาวยาวและใช้แรงจากข้อมือช่วย  และเน้นทิศทางโดยใช้การเกี่ยวหัวไม้ในการบุกแบบเปลี่ยทิศทางเร็วเร็วช่วย
ตีเร็วเน้นบุกใช้ไม้ carbonz  ตีเน้นหมุน  ครอลโทรล ใช้ไม้ธรรมชาติ

ิBasic

แบบฝึกขั้นพื้นฐาน

1. การจับไม้ การจับไม้ในการเล่นเทเบิลเทนนิสมีสองลักษณะคือ 
1.1การจับไม้แบบจับมือ การจับไม้แบบจับมือ หรือการจับแบบขวาง หรือการจับไม้แบบธรรมดา เป็นวิธีการจับไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักกีฬาเทเบิลเทนนิสในกลุ่มประเทศแถบทวีปยุโรป การจับไม้แบบนี้เหมาะสำหรับผูเล่นที่เพิ่งเริ่มต้นฝึกหัดการเล่น

วิธีปฏิบัติ 
1. ใช้มือขวาหรือมือข้างที่ถนัดจับไม้เหมือนกับว่ากำลังจะจับมือคนอีกคนหนึ่งโดยจับด้ามไม้ให้อยู่ในระหว่างหัวแม่มือกับนิ้วชี้ 
2. วางนิ้วหัวแม่มือบนหน้าไม้ด้านหนึ่งของบริเวณส่วนโคนไม้ โดยที่หน้าไม้ด้านที่วางนิ้วหัวแม่มือนี้จะเป็นด้นสำหรับการตีลูกหน้ามือ 
3. วางนิ้วชี้ขนานไปตามแนวขวางของส่วนปลายโคนไม้บนหน้าไม้อีกด้านหนึ่ง โดยที่หน้าไม้ที่วางนิ้วชี้นี้จะเป็นด้านสำหรับการตีลูกหลังมือ และงอนิ้วที่เหลืออีก 3 นิ้ว คือ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยกำรอบด้ามไม้
4. จับไม้ให้พอดีมือ สบายๆ ไม่เกร็ง






1.2 การจับไม้แบบจับปากกา
การจับไม้แบบจับปากกา หรือการจับแบบหิ้วไม้ เป็นวิธีการจับไม้ที่ผู้เล่นในประเทศแถบทวีปเอเซียนิยม การจับไม้แบบนี้ช่วยให้ผู้เล่นตีลูกได้เร็วขึ้น และมีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่เพื่อรับลูกจากฝ่ายตรงข้าม การจับไม้แบบจับปากกาจึงเหมาะสมสำหรับการเล่นลักษณะจู่โจม หรือการเล่นรุกอย่างรุนแรง

วิธีปฏิบัติ
1.จับไม้คล้ายว่ากำลังจับปากกา โดยจับให้สบายๆ พอดีมือ ไม่เกร็ง
2. วางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ประกบกันจับด้ามไม้ไว้ด้านหนึ่ง
3. งอนิ้วอีก 3 นิ้วที่เหลือ คือนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย บนหน้าไม้อีกด้านหนึ่งเพื่อช่วยประคองไม้ หรืออาจวางราบบนส่วนล่างของไม้ก็ได้



2. ฝึกการสร้างความคุ้นเคยกับลูกปิงปอง
ให้นักเรียนหัดโยนลูกปิงปองเล่น ไม่ว่าจะทั้งโยนไปมา โยนให้ลูกปิงปองกระเด้งแล้วให้นักเรียน พยายามจับลูกปิงปองให้ได้ หรือโยนลูกกระทบข้างฝา ฯลฯ ซึ่งแบบฝึกนี้ต้องการให้นักเรียน ได้คุ้นเคยกับจังหวะการกระดอนของลูกปิงปอง รวมถึงได้สังเกตทิศทางของลูกปิงปองเมื่อกระทบกับสิ่งต่างๆ โดยการฝึกจะให้นักเรียน ยืนเล่นหรือนั่งเล่นกับลูกปิงปองก็ได้

3. ฝึกการตีลูกหลังมือ
ฝึกให้นักเรียน หัดตีลูกปิงปองด้วยด้านแบ๊คแฮนด์ ให้เด็กนักเรียน นั่งลงกับพื้น(ดังรูป) โดยให้อีกฝ่ายหนึ่งกลิ้งลูกไปกับพื้นและให้อีกฝ่ายหนึ่งหัดตีลูกปิงปองให้โดน โดยใช้ด้านหลังมือในการตีลูก




4. ฝึกการตีลูกหน้ามือ
ให้นักเรียนหัดตีลูกด้วยด้านโฟร์แฮนด์เช่นเดียวกันกับการฝึกตีด้านแบ๊คแฮนด์ข้างต้นซึ่งการฝึกลักษณะเช่นนี้จะช่วยให้เด็กนักเรียน เริ่มเรียนรู้การใช้ไม้ปิงปองตีลูกด้วยด้านหน้ามือและหลังมือเด็กนักเรียน จะรู้สึกว่าการเริ่มเล่นปิงปองนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ยากเลย

5. ฝึกการเดาะลูกปิงปองแบบต่างๆ
ให้เด็กนักเรียน หัดเดาะลูกปิงปองในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ด้านหน้ามือเดาะลูก หรือใช้หลังมือเดาะลูกหรืออาจจะเลี้ยงลูกให้อยู่บนหน้าไม้โดยไม่ให้ลูกตกลงพื้นก็ได้ซึ่งแบบฝึกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกให้เด็กนักเรียน ฝึกการควบคุมลูกปิงปองให้ได้


6. ฝึกให้รู้จักการตีลูกด้วยหน้ามือและหลังมือ
หลังจากที่นักเรียน ชำนาญการเดาะลูกแล้วให้นักเรียน หัดตีลูกด้วยหน้ามือ โดยให้นักเรียนอีกคนหนึ่งโยนลูกปิงปองให้อีกคนหนึ่งตีลูกโดยใช้ด้านหน้ามือและด้านหลังมือสลับกันไปมา

7.ฝึกการตีลูกปิงปองกับผนังด้วยด้านหลังมือ
จากนั้นลองให้นักเรียน หัดตีลูกปิงปองกับผนังโดยการนั่ง เริ่มต้นจากการใช้ด้านหลังมือก่อน(ดังรูป) นักเรียนควรพยายามให้ตีโต้ได้หลายๆ ลูกขึ้น



8. ฝึกการตีลูกปิงปองกับผนังด้วยด้านหน้ามือ
และตามด้วยการฝึกตีนั่งตีโต้กับผนังด้วยด้านหน้ามือ และเมื่อเด็กๆ เกิดความคล่องและชำนาญขึ้นแล้ว ให้นักเรียนนั่งตีโต้กับผนังโดยสลับการตีด้วยด้านมือและหลังมือสลับกันไป




9. ฝึกการตีโต้กับผนังด้วยการยืน
จากนั้นให้นักเรียน เปลี่ยนจากการนั่งเป็นการยืนตีโต้กับกำแพง โดยใช้ฝึกตีโต้โดยใช้ทั้งด้านหน้ามือและหลังมือสลับกันไป



10. ฝึกตีลูกไปข้างหน้า
ให้นักเรียน ตีลูกไปข้างหน้า โดยการปล่อยลูกปิงปองตกพื้นก่อนและค่อยตี(ดังรูป) โดยสามารถฝึกให้ตีได้ทั้งด้านหน้ามือและหลังมือ




11. ฝึกตีโต้ไปมากลางอากาศ
มื่อนักเรียน เกิดความชำนาญมากยิ่งขึ้นแล้ว นักเรียนควรหัดให้ตีลูกโต้ไป-มากลางอากาศโดยไม่ให้ลูกปิงปองตกลงพื้นดินซึ่งสามารถฝึกตีโต้ได้ทั้งด้านหน้ามือและหลังมือสลับไปมา


12. ฝึกกำหนดจุดกระทบบนผนัง
นักเรียนสามารถกำหนดจุดให้ ตีโต้บนผนังได้(ดังรูป) โดยให้ตีโต้กับกำแพงสลับด้านหน้ามือ-หลังมือไปมา หรือนักเรียนจะผลัดกันตีคนละทีก็ประยุกษ์ใช้ได้เช่นกันครับ



13. ฝึกตีปิงปองบนพื้นก่อนฝึกบนโต๊ะ
ให้นักเรียนต่อแถวตีลูกคนละครั้งโดยใช้ด้านหน้ามือหรือหลังมือ เมื่อตีเสร็จก็ให้ไปต่อแถวด้านหลังดังรูป โดยใช้การฝึกแบบนี้จะช่วยให้นักเรียน ได้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกีฬาปิงปองได้เร็วขึ้นกว่า ที่นักเรียนไปฝึกตีปิงปองบนโต๊ะปิงปองจริงทันที


14. ฝึกตีปิงปองโดยมีครูฝึกป้อนหรือใช้เครื่องยิงป้อน 
เมื่อนักเรียน พร้อมที่จะเล่นกับโต๊ะปิงปองจริงๆ ควรจะมีครูฝึกเป็นผู้ที่คอยป้อนลูกจะดีกว่า เพราะหากปล่อยให้นักเรียน เล่นกันเองจะทำให้เกิดความชำนาญได้ช้าและไม่มีผู้ที่คอยบอกข้อบกพร่องของนักเรียน