1. การเสริฟ SERVICE
ลูกเสริฟ คือ หัวใจข้อที่ 1 ที่นักกีฬาจะต้องฝึก เพราะ การเสริฟนั้น นักกีฬาทุกคนจะต้องได้นำไปใช้ในเกมส์การแข่งขัน และเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขัน และการมีลูกเสริฟที่ดี จะนำมาซึ่งการได้คะแนนทันที หรือได้เปรียบคู่แข่งขันติดตามมา
1. ต้องไม่เสริฟผิดกติกา
ตัวอย่างการเสริฟผิดกติกาได้แก่ มือข้างที่ถือลูกปิงปองก่อนโยนลูกแบมือไม่ถูกต้อง , มือข้างที่ถือลูกปิงปองไม่หยุดนิ่งก่อนโยนลูกปิงปอง , โยนลูกเสริฟไม่ถึง 16 เซ็นติเมตร , โยนลูกเสริฟเข้าไปในโต๊ะปิงปอง , จงใจโยนลูกปิงปองให้เฉียงๆ ไม่เป็นเส้นตรง , จงใจโยนลูกปิงปองให้เกิดความหมุน , ก่อนเสริฟมือข้างที่ถือลูกอยู่ต่ำกว่าโต๊ะปิงปอง หรือ เข้าไปในโต๊ะปิงปอง , ตีลูกปิงปองในขณะที่ลูกปิงปองกำลังลอยขึ้น , ขณะที่โยนลูกปิงปองขึ้นไปในอากาศ มือข้างอิสระที่ไม่ถือไม้ปิงปอง หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย หรือ เสื้อผ้า บังลูกปิงปองอยู่ , โยนลูกปิงปองเพื่อจะเสริฟแต่เปลี่ยนใจไม่เสริฟ ฯลฯ
เฉพาะแค่เรื่องกติกาก็ทำให้เราปวดหัวแล้ว เพราะฉะนั้นนักกีฬาจะต้องระวังอย่าให้ตัวเองเสริฟผิดกติกา เพราะ หากผิดกติกา ผู้ตัดสินอาจจะขานให้เราเป็นฝ่ายเสียคะแนนให้กับคู่ต่อสู้ไปฟรีๆ ทันที ทำให้เกิดความหงุดหงิดกรรมการในขณะทำการแข่งขัน หรือโชคดีหน่อย กรรมการอาจจะแค่ขาน LET ให้เสริฟใหม่ ก็ได้ ถือเป็นโชคดีไป ดังนั้นเราจึงต้องรู้ตัวเอง และหมั่นฝึกเสริฟให้ถูกกติกาไว้ จะเป็นการดีที่สุดครับ
2. ต้องฝึกเสริฟลูกปิงปองให้หมุนที่สุด.....ให้เป็น
ในการฝึกเสริฟลูกนั้น นักกีฬาจะต้องฝึกเสริฟลูกให้หมุนที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะลูกเสริฟที่มีความหมุนสูง จะสามารถบังคับทิศทางให้ผู้ที่รับลูกเสริฟรับลูกมายังตำแหน่งที่เราต้องการได้ รวมถึงลูกเสริฟที่มีความหมุนสูง อาจจะทำให้คู่ต่อสู้รับลูกเสริฟเสียไปเองก็ได้ เมื่อเราสามารถเสริฟลูกหมุนได้แล้ว การที่เสริฟลูกให้หมุนน้อยลงย่อมทำได้ง่าย ซึ่งในการเสริฟนั้น ลูกเสริฟที่ดีต้องคาดเดาความหมุนของลูกปิงปองได้ยาก ดังนั้นเราจึงต้องฝึกเสริฟให้หมุนที่สุดให้ได้เสียก่อน เพราะการเสริฟลูกให้มีความหมุนน้อยนั้น ทำได้ง่ายกว่าการเสริฟลูกให้มีความหมุนมากๆ
3. เสริฟให้เลียดเน็ตที่สุด
เพราะหากเสริฟสูง หรือ เสริฟโด่ง หากไปเล่นกับผู้เล่นระดับสูง จะถูกบุกด้วยลูก ท๊อปสปินในโต๊ะ (Half long) หรือ ถูกเขี่ย (FLIP) ให้เสียหลักหรือหลงทางเสียจังหวะทันที
ฝีกการเสริฟให้เลียดเน็ตด้วยการหาเชือกมาขึงให้ตึง แล้วหัดเสริฟลูกให้ลอดผ่านระหว่างเชิอกกับเน็ต
4. เสริฟใฟ้ลงบนตำแหน่งต่างๆ บนโต๊ะได้อย่างแม่นยำ
หลังจากที่เราเสริฟลูกได้เลียดเน็ตแล้ว ยังจะต้องเสริฟลงบนโต๊ะฝั่งตรงข้ามได้อย่างแม่นยำอีกด้วย ซึ่งมีวิธีการเสริฟที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
4.1 เสริฟลูกสั้น
ลูกเสริฟสั้น คือ การที่เสริฟลูกออกไปแล้วลูกกระดอนอยู่ในโต๊ะของคู่ต่อสู้ โดยกระดอนตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป ซึ่งมีวิธีฝึกดังนี้ คือ เสริฟให้ลูกตกลงบนฝั่งของเรา ให้ใกล้เน็ตปิงปองให้มากที่สุด
ข้อดีสำหรับการเสริฟลูกสั้น คือ
1. การป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู้บุกตั้งแต่ไม้แรกทันที
2. เพื่อหาจังหวะบุกในไม้ต่อไป ในกรณีที่คู่ต่อสู้ไม่รู้วิธีการรับลูกเสริฟ หรือ วางลูกเสริฟกลับมาได้ไม่ดี
4.2 เสริฟลูกพุ่งยาว
เสริฟลูกยาว คือ การเสริฟลูกให้พุ่งออกนอกโต๊ะปิงปอง โดยลูกจะต้องหมุนและพุ่งด้วยความรวดเร็ว จึงจะถือว่าเป็นลูกเสริฟที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้คู่ต่อสู้รับกลับมาได้ลำบากยิ่งขึ้น
ข้อดีสำหรับการเสริฟลูกยาว คือ
1. ไว้ใช้ในจังหวะที่คู่ต่อสู้เผลอ หรือ ไม่ทันระวังตัว
2. หากคู่ต่อสู้ไม่รู้วิธีการรับลูกเสริฟที่พุ่งมายาวๆ จะเปิดโอกาสให้ฝ่ายเสริฟได้บุกในลูกต่อไปทันที
4.3 เสริฟให้ตกลงบนขอบโต๊ะปิงปองพอดี
หมายถึง การเสริฟให้ลูกปิงปองมีจุดตกอยู่ประมาณ ขอบของโต๊ะปิงปองพอดิบพอดี
ข้อดีสำหรับการเสริฟลูกปิงปองให้ตกลงปลายโต๊ะพอดี คือ
1. จะทำให้คู่ต่อสู้ตัดสินใจยาก หรือ ลังเล ว่าจะใช้วิธีการรับลูกเสริฟด้วยวิธีใด
2. เป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายเสริฟได้เปรียบ กรณีที่คู่ต่อสู้รับลูกเสริฟได้ไม่ดี กลับมา
เคล็ดลับด้านลูกเสริฟต่างๆ
กลยุทธในการเสริฟเมื่อต้องนำไปใช้ในการแข่งขันที่สำคัญ ซึ่งนักกีฬาระดับโลกใช้กันนั้น เท่าที่สังเกตุเห็น มีกลยุทธที่สำคัญๆ ที่นักกีฬาเราควรจะนำไปทดลองฝึกซ้อม เพื่อให้เกิดความชำนาญ และเป็นกลยุทธให้กับตนเอง มีข้อแนะนำดังนี้
1. ตั้งใจเสริฟให้ได้คะแนนจากลูกเสริฟ (ผู้ต่อสู้รับเสียไปเอง)
2. เสริฟบังคับให้คู่ต่อรับลูกเสริฟมาในตำแหน่งที่เราต้องการ
3. ในเกมส์การแข่งขันที่เราเป็นต่อมาก หรือ คู่ต่อสู้อ่อนกว่าเรามาก เสริฟอย่างไรก็ได้ แต่ยังคงต้องเน้นประสิทธิภาพ ทั้งความหมุน และ สร้างความสับสนในความหมุน ตำแหน่งที่ลูกตก เพื่อทำให้ต่อสู้ลำบากในการรับลูกเสริฟมากขึ้น
4. ในเกมส์การแข่งขันที่คู่แข่งขันมีฝีมือสูสีกับเรา หรือ เป็นต่อเรา พยายามเสริฟให้เป็นลูกสั้นตลอดทั้งเกมส์ 70-80% ขึ้นไป เพื่อกดดันให้คู่ต่อสู้ไม่บุกโจมตีเราตั้งแต่ไม้แรก รวมถึงดึงให้คู่ต่อสู้มาเล่นในกลยุทธ์ที่ถนัดของเรา หรือ การวางแผนของเรา หรือ พยายามให้คู่ต่อสู้มาอยู่ในเกมส์ที่เป็นจุดอ่อนของเขาเอง
เหตุผลเสริม กรณีเราไปแข่งขันกับคนเก่งกว่า มีฝีมือเหนือกว่าเรามาก เสริฟไปอย่างไร เขาก็มีวิธีการรับได้หมดเพราะเขาถูกฝีกซ้อมมาแล้วอย่างดี ยิ่งจะทำให้กลับกลายเป็นฝ่ายเสริฟเป็นฝ่ายเสียเปรียบไป เพราะคู่แข่งขันมีวิธีการรับกลับมาที่หลากหลาย เราจึงวางกลยุทธ์ให้คู่ต่อสู้ มีวิธีรับลูกเสริฟกลับมาด้วยวิธีที่น้อยวิธีลง ลองดูคลิ๊ปการแข่งขันของนักกีฬาระดับโลกใน youtube.com เลือกดูที่เป็นเกมส์การแข่งขันตลอดทั้งเกมส์ แล้ววิเคราะห์ดูนะครับ
5. ในการแข่งขันประเภทคู่ ในกรณีเจอคู่แข่งขันที่สูสี หรือ เป็นต่อมากๆ พยายามเสริฟด้วยลูกสั้นตลอดทั้งเกมส์ 90% ขึ้นไป เพราะการเล่นประเภทคู่จะเสริฟด้านโฟร์แฮนด์ และ ผู้รับก็จะให้ด้านโฟร์แฮนด์ รับลูกเสริฟด้วย เช่นกัน หากเสริฟยาวพ้นออกโต๊ะ ก็จะเจอการบุกจากคู่ต่อสู้ทันที
ตัวอย่าง....กลยุทธ์ในการสร้างความหลากลายในลูกเสริฟ (โดยที่ไม่ได้จงใจทำให้ผิดกติกา) เพื่อให้เกิดความสับสนต่อคู่แข่งขัน เช่น.....
1. สร้างความสับสนในความหมุนของลูกเสริฟที่หลากหลายความหมุน เช่น ความหมุนแบบ back spin บ้าง , side spin บ้าง , top spin บ้าง , mix spin บ้าง หรือ เสริฟโดยไม่มีความหมุนเลย ก็ได้ โดยจะต้องให้ถูกต้องตามกติกา มิใช่การใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายช่วยบังลูกเสริฟ
2. สร้างความสับสนในเวลาขณะตั้งท่าเสริฟ แล้วค่อยเสริฟ ยกตัวอย่างเช่น การเสริฟตั้งท่าเสริฟช้าบ้าง เร็วบ้าง หรือ ตั้งท่าเสริฟช้ามาตลอด แต่เวลาขณะสำคัญๆ กลับตั้งท่าแล้วเสริฟทันที หรือ ตั้งท่าเสริฟเร็วมาตลอด แต่บางจังหวะสำคัญๆ กลับตั้งท่าเสริฟช้ากว่าปกติ
3. สร้างความสับสนในความสูงของการโยนลูกเสริฟ ยกตัวอย่างเช่น ปกติโยนลูกเสริฟลูกกว่าศรีษะมาตลอด แต่บางครั้งบางจังหวะกลับโยนลูกเสริฟต่ำๆ แต่ไม่ผิดกติกาทันที
4. การเก็ํบลูกเสริฟทีเด็ดเอาออกมาใช้ในจังหวะที่สำคัญๆ โดยตลอดทั้งเกมส์ลูกเสริฟดังกล่าว ไม่ได้ถูกนำออกมาใช้มาก่อนเลย ก็สามารถทำให้คู่ต่อสู้หวั่นไหว และ สับสนได้เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น